4 วัสดุมุงหลังคา ยอดนิยมพร้อมข้อดีและข้อเสีย
4 วัสดุมุงหลังคา ยอดนิยม พร้อมข้อดีและข้อเสีย
การเลือกวัสดุที่ใช้มุง หลังคา ถือว่าเป็นอย่างแรกๆ ที่เรามักต้องเลือกกันก่อน ด้วยวัสดุมีหลากหลายแบบและชนิด ซึ่งมันอาจจะไม่เหมาะกับทรงหลังคาบ้านและความต้องการของเราก็เป็นได้
ซึ่งทางเราจะนำเสนอ หลังคา ที่นิยมถูกเลือกมาใช้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม ราคา หรือแม้แต่คุณสมบัติเองก็ตาม ลองรับชมข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภทเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้
1. หลังคาเมทัลชีท
เมทัลชีท เป็นหลังคาเหล็กที่มีความบาง โดยผ่านขั้นตอนการรีดขึ้นลอนเพื่อการระบายน้ำ สร้างความแข็งแรงและเพิ่มความสวยงาม โดยวัสดุที่ใช้ในการเคลือบจะมีทั้งอะลูมิเนียมและสังกะสี โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก แต่ส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันมักจะถูกติดตั้งภายนอกเสียมากกว่า มีหลากสีสันให้ใช้ตามความต้องการและใช้งานด้านอื่นนอกจากการมุง หลังคา เช่น รั้ว ผนัง เป็นต้น หลังคาเมทัลชีท จึงเป็นที่นิยมแพร่หลาย
ข้อดีของ หลังคาเมทัลชีท
- ติดตั้งง่ายและช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งได้มาก เพราะสามารถติดตั้งทับบน หลังคา เดิมได้โดยไม่ต้องรื้อหลังคาใหม่
- ช่วยลดปัญหาการรั่วซึม หมดปัญหาน้ำฝนไหลเข้าบริเวณรอยต่อ
- มีน้ำหนักเบา ราคาถูก
- มีความทนทานกว่า หลังคากระเบื้อง ช่วยลดปัญหาเรื่องความเสียหายของวัสดุในการขนย้ายหรือเวลาติดตั้ง
- หลังคาเมทัลชีท เหมาะแก่การปูทรงโมเดิร์นหรือทรงหมาแหงนที่มีความลาดชันต่ำ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาหลังคารั่วซึม
- สามารถนำไปติดตั้งได้มากกว่าการทำเป็น หลังคา ไม่ว่าจะเป็น รั้ว ผนังกั้น หรือปิดรอยต่อต่าง ๆ
ข้อเสียของ หลังคาเมทัลชีท
- เนื่องด้วยวัสดุเป็นโลหะบาง จะทำให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อาศัย เมื่อเกิดฝนตกหนัก
- แผ่น เมทัลชีท ทำมาจากโลหะจึงทำให้รับความร้อนได้มากกว่าวัสดุอื่นทั่วไป จึงทำให้ตัวบ้านมีความร้อนเข้ามา ในปัจจุบัน หลังคาเมทัลชีท มีฉนวนกันความร้อน ช่วยลดความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
- ตัวแผ่นยิ่งมีความหนาน้อย ก็จะยิ่งมีน้ำหนักเบา จึงอาจจะก่อให้เกิดความหลุดเสียหายได้หากเกิดพายุลมฝน ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2. กันสาด
ถือเป็นหลังคาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีทั้งวัสดุ 2 ประเภท ซึ่งก็คือประเภททึบแสงและประเภทโปร่งแสง ซึ่งการเลือกก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานที่และความต้องการด้วย นิยมติดตั้งบริเวณต่างๆ เช่น หน้าต่าง โรงจอดรถ หรือประตูทางเข้า เป็นต้น
กันสาดทึบแสง แสงจะไม่สามารถส่องผ่านได้ ได้ความร่มรื่นและเย็นกว่าแบบโปร่งแสง มีวัสดุให้เลือกใช้หลายประเภท เช่น
- เมทัลชีท ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูก ติดตั้งง่าย ข้อเสีย เวลาฝนตกหนักเสียงดังเข้าบ้าน รับความร้อนสูง
- กระเบื้องลอนคู่ ข้อดี ราคาถูก ติดตั้งง่าย ข้อเสีย มีน้ำหนักมาก เปลืองค่าใช้จ่ายในการทำโครงสร้างเหล็ก
- ไวนิล ข้อดีคือ สวยงาม ดูทันสมัย เสียงเบาแม้เจอฝนตกหนัก ข้อเสีย ราคาสูง
- ผ้าใบ ข้อดีคือ น้ำหนักเบา พับเก็บได้ ข้อเสีย อายุการใช้งานต่ำ
กันสาดโปร่งแสง แสงสามารถส่องผ่านลงมาได้ ให้แสงสว่างโดยไม่ต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน
- โพลีคาร์บอเนต ข้อดี แสงส่องผ่านได้เต็มที่ มีสีสันให้เลือกเยอะ ราคาถูก ข้อเสีย แสงเปลี่ยนตามสีของแผ่นไม่เป็นธรรมชาติ เสียงดังมากเมื่อฝนตกหนัก ร้อนมาก อายุการใช้งานสั้น
- ไฟเบอร์กลาส ข้อดี อายุการใช้งานสูง แสงเป็นธรรมชาติ ข้อเสีย ราคาสูง
- ผ้า ข้อดีคือ น้ำหนักเบา พิมพ์ลวดลายได้ พับเก็บง่าย ข้อเสีย อายุการใช้งานต่ำ สกปรก เกิดเชื้อราได้
3. หลังคาไวนิล
เป็นวัสดุแผ่น หลังคา ที่ทำมาจาก UPVC หรือ Unplasticized Poly Vinyl Chloride หลังคาไวนิล มีให้เลือกใช้ได้หลากหลายลักษณะ เช่น แบบท้องเรียบ ลอนคู่ ลอนเดี่ยว ลอนสาม เป็นต้น
ข้อดีของ หลังคาไวนิล
- มีความยืดหยุ่นทนทานต่อแรงกระแทก เช่นหากมีของแข็งหล่นใส่หลังคา กระเบื้องลอนคู่อาจแตก และเมทัลชีทอาจบุบได้
- ป้องกันความร้อนได้ดี ความร้อนเข้าตัวบ้านน้อย ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
- ช่วยซับเสียงได้กว่า หลังคาเมทัลชีท แม้ฝนตกหนักก็ไม่รบกวน
- ไม่ลามไฟ
- ใช้กับรูปแบบ หลังคา ที่มีความลาดชันน้อยได้
- มีน้ำหนักเบา
ข้อเสียของ หลังคาไวนิล
- ราคาสูงมาก
- มีแต่แบบชนิดทึบแสง
- สีอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เมื่อใช้งานไปนานๆ
4. หลังคากระเบื้อง
มีความนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก วัสดุหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระเบื้องหลังคาคอนกรีต เซรามิก ดินเผา ลอนคู่ ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นต้น สามารถเลือกสรร ตกแต่งบ้านได้ตามที่ต้องการ
ข้อดีของ หลังคากระเบื้อง
- แข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน
- ซ่อมแซมบำรุงรักษาง่าย เปลี่ยนแค่จุดที่ชำรุด
- กันความร้อนได้ดี
- เสียงเบากว่า หลังคาเมทัลชีท เวลาฝนตกกระทบหลังคา
ข้อเสียของ หลังคากระเบื้อง
- ติดตั้งยาก ใช้เวลานาน เพราะต้องติดตั้งทีละแผ่น
- ติดตั้งไม่ดีอาจเกิดการรั่วซึมได้
- น้ำหนักมาก
- ค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องเพิ่มต้นทุนในการทำโครงสร้างมารองรับ
เมื่อทราบข้อดีและข้อเสียกันแบบนี้แล้ว ท่านเจ้าของบ้านก็พอจะสามารถเลือกวัสดุให้เหมาะกับประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการใช้ หลังคา ก็จะสามารถช่วยทำให้ได้บ้านที่มีคุณสมบัติที่ดีมากยิ่งขึ้น คือได้หลังคาที่แข็งแรง สวยงาม ทนทาน เหมาะกับบ้าน และยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย